วันนี้ผู้เขียนจะมาพาทุกคนไปรู้จักกับกฎหมายที่ต้องรู้ สำหรับพ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ ที่สนใจในการทำโฆษณาออนไลน์ต่างๆ นั้นคือกฎหมายที่ควรต้องรู้ในการทำ E- commerce นั้นเอง
5 ข้อกฎหมายดิจิทัลที่ควรต้องรู้ในการทำ e-commerce
1.พรบ.ภาษีอีเพย์เมนต์ หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48 ) ในปี พ.ศ. 2562 เรื่องนี้จัดได้ว่าเป็นประเด็นที่พ่อค้าและแม่ค้าหรือผู้ที่ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับการยื่นเสียภาษีจากธุรกรรมที่เกิดขึ้น โดยที่มีใจความสำคัญหลักๆ คือ การกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ อีวอลเล็ท ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ผู้ที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จำกัด หรือ บริษัท ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะนั้นต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
– มียอดเงินฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง ต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม
– ฝากหรือโอนเงินเข้าภายในบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้ง/ ปี ขึ้นไป และต้องมียอดรวม 2,000,000 บาท / ปี ขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าทั้งเงื่อนไขของจำนวนครั้ง และมูลค่าของการโอน
หากเข้าข่ายข้อกำหนดดังกล่าว จำเป็นต้องยื่นเสียภาษีเงินได้ตามธรรมเนียม ทั้งนี้ทุกธนาคารมีหน้าที่ต้องรายงานต่อกรมสรรพากรทุกเดือน มีนาคม
2.พ.ร.บ. ภาษี E – Business เป็นข้อกำหนดที่ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องลงทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร โดยผู้ประกอบการทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากแพลตฟอร์มให้บริการ อื่นๆ เช่น Facebook Line แอพพลิเคชันต่างชาติที่มีรายได้ในประเทศไทย ต้องลงทะเบียนเสียภาษีกับกรมสรรพากรทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการในประเทศไทย
3.พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญา ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน ได้แก่ การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อ การทำสัญญาระหว่างบุคคล ที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายนี้ถือว่าการที่จะทำสัญญานั้นได้มีการทำตามหลักเกณฑ์ ข้างต้นขของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว
4.พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการลงโทษตามที่ พ.ร.บ.กำหนดไว้ ซึ่งมีข้อกำหนดยิบย่อยมากมายที่ต้องทำการศึกษา เพราะว่ามีทั้งโทษทั้งจำทั้งปรับ โดยขอยกบทลงโทษ ในมาตราที่มีคนผิดพลาดกันมาก ในมาตราที่ 14 กล่าวว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5.พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศ รวมทั้งระบบสื่อสารทำให้เกิดการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานและการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นสามารถทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว อันอาจนำมาซึ่งความเดือดร้อน รำคาญ หรือ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่มีการนำแสวงหาผลประโยชน์ หรือนำข้อมูลไปเปิดเผยโดยที่ไม่รับการยินยอมหรือไม่ได้อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลและไม่มีการแจ้งไว้ล่วงหน้า http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/069/T_0052.PDF (ลิงค์ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในฉบับเต็ม)
สำหรับในข้อกฎหมายแต่ละข้อนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ทำธุรกรรมออนไลน์หรือ แม้แต่ผู้ใช้งานทั่วไปนั้นจำเป็นต้องรู้ไว้